ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กลุ่มพืชดอก (Angiosperm)

กลุ่มพืชดอก (Angiosperm) พืชดอก หมายถึง  พืชที่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีดอกให้เห็น พืชดอกจัดเป็นพืชชั้นสูงที่มีอวัยวะต่างๆ ครบสมบูรณ์ คือ ราก ลำต้น ใบ ตา ดอกและ  เมล็ด มีไว้เพื่อสำหรับขยายพันธุ์ พืชดอกมีอยู่ทั่วไปหลายชนิด มีทั้งที่อยู่บนบกและอยู่ในน้ำ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon) พืชใบเลี้ยงเดี่ยว คือ พืชที่เมื่อใบแรกแทงออกมาจากเมล็ด มีใบเดียว และเมื่อเติบโตขึ้นจะเห็นลำต้นเป็นข้อปล้องอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น พืชจำพวกหญ้า ข้าว ข้าวโพด อ้อย ไผ่ หัวใจสีม่วง พืชเหล่านี้จะมีใบเรียงตัวเป็นเลขคี่หรือใบเดียว เส้นบนใบจะเรียงตัวแบบขนานไปตามแนวยาวของใบ ลำต้นมักเรียว และเป็นพืชล้มลุกเป็นส่วนมาก พืชในกลุ่มนี้มีระบบรากฝอย แน่นอนว่าพวกมันมีดอก และจำนวนกลีบดอกของพืชกลุ่มนี้จะมี 3 กลีบหรือทวีคูณของ 3       2. พืชใบเลี้ยงคู่ (Dicotyledon) พืชใบเลี้ยงคู่จะงอกออกจากเมล็ดพร้อมกับใบเลี้ยง 2 ใบ และเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะเห็นข้อและปล้องในส่วนของลำต้นไม่ชัดเจน เนื่องจากมันมักจะมีเปลือกแข็งห่อหุ้ม และยังมีการเจริญเติบโตออกด้านข้าง มีกิ่งก้านสาขา แ
โพสต์ล่าสุด

กลุ่มพืชเมล็ดเปลือย (Gymnosperm)

กลุ่มพืชเมล็ดเปลือย (Gymnosperm) พืชเมล็ดเปลือยมีลักษณะเด่น คือ ออวุลและละอองเรณูจะติดอยู่บนกิ่งหรือแผ่นใบซึ่งจะอยู่รวมกันที่ปลายกิ่ง เรียกว่า โคน (cone) โดยจะแยกเป็นโคนเพศผู้และโคนเพศเมีย แบ่งได้ดังนี้ Division Coniferophyta  พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ได้แก่ พวกสน (Pinus) เช่น สนสองใบและสนสามใบ Division Cycadophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ ปรง (Cycad) Division Ginkgophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ แปะก๊วย (Ginkgo biloba) Division Gnetophyta พืชที่สร้างเมล็ดเปือย ได้แก่ มะเมื่อย (Gnetum)

Division Pterophyta

Division Pterophyta   เป็นพืชที่มีท่อลำเลียง มีหลายชนิดแตกต่างกัน มีราก และลำต้นใบเจริญดี โดยใบเป็นแบบ megaphyll ซึ่งเป็นแผ่นกว้างและมีเส้นใบแตกจากเส้นกลางใบ ลำต้นใต้ดินแบบ rhizome ใบอ่อนม้วนงอคล้ายลานนาฬิกา เรียกว่า circinare vernation ใบที่โตเต็มที่ เรียกว่า frond สร้างสปอร์อยู่ภายในกลุ่มอับสปอร์ เรียกว่า sorus อยู่ด้านล่างใบ สปอร์งอกหลายเป็นแกมีโตไฟต์ขนาดเล็กสีเขียวรูปร่างคล้ายหัวใจ เรียกว่า prothallus มีโรซอยด์และเจริญเป็นอิสระในดินที่ชุ่มชื้น antheridium และ archegonium อาจอยู่บน prothallus เดียวกันหรือไม่ก็ได้และเจริญไม่พร้อมกัน มีวงชีวิตแบบสลับเด่นชัด พบแล้วประมาณ 1,200 ชนิด มีแหล่งที่อยู่ต่างกันหลายแบบ ได้แก่ เฟิร์น ( Fern ) แหนแดง( Azolla ) และจอกหูหนู ( Salvinia )

Division Sphenophyta

Division Sphenophyta  เป็นพืชที่มีท่อลำเลียง ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อและปล้อง มีการสร้างสปอร์ พืชในดิวิชันนี้มีเพียง วงศ์เดียว คือ Equisetaceae แกมีโตไฟต์มีขนาดเล็ก เจริญอยู่ใต้ดิน สปอโรไฟต์มีขนาดใหญ่ อายุยืน มีซิลิกา ลำต้นเป็นข้อปล้องชัดเจน ปล้องเป็นร่องและสัน ข้อมีใบแบบไมโครฟิลล์อยู่รอบข้อเรียงแบบ whorl เป็น homosporous plant โดยสปอแรงเจียมเจริญอยู่บนโครงสร้างที่เรียกว่าสปอแรงจิโอฟอร์ (sporangiophore) ได้แก่ สนหางม้า หรือ หญ้าถอดปล้อง (Equisetum)

Division Lycophyta

Division Lycophyta  เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงที่มีลำต้น ใบ และรากที่แท้จริง แต่ยังมีใบขนาดเล็ก ซึ่งสปอโรไฟต์ของพืชดิวิชันนี้มีราก ลำต้น และใบครบทุกส่วน มีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก พวกที่เจริญอยู่บนพื้นดิน อาจมีลำต้นตั้งตรงหรือทอดนอน บางชนิดอาศัยเกาะบนต้นไม้อื่น ลำต้นแตกกิ่งเป็น 2 แฉก ใบมีขนาดเล็ก เป็นใบแบบไมโครฟิลล์ (microphyll) คือเป็นใบที่มีเส้นใบเพียงเส้นเดียว สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่แล้ว จะสร้างอับสปอร์บนใบที่มักมีรูปร่างและขนาดแตกต่างไปจากใบที่พบทั่วไป เรียกใบชนิดนี้ว่า สปอโรฟิลล์ (sporophyll) ซึ่งจะมาเรียงซ้อนกันแน่นอยู่ที่ปลายกิ่งเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า สโตรบิลัส (strobilus) หรือโคน (cone) ได้แก่ ช้องนางคลี่ (Lycopodium) และ ตีนตุ๊กแก (Sellaginella)

Division Psilophyta

Division Psilophyta  พืชที่มีท่อลำเลียงชั้นต่ำ ไม่มีใบและรากที่แท้จริง สปอโรไฟต์มีรูปร่างลักษณะง่ายๆ คือมีแต่ลำต้นยังไม่มีรากและใบ ลำต้นมีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนขนาดสูงประมาณ 20 –30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่ตามพื้นดิน (tcrrestrial) หรือเกาะติดกับต้นไม้อื่น (epiphyte) ลำต้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ใต้ดินเป็นลำต้นชนิดไรโซม (rhizome) มีสีน้ำตาล และมีไรซอยด์ทำหน้าที่ดูดน้ำและแร่ธาตุ ลำต้นส่วนที่อยู่เหนือพื้นดิน (acrial stem) มีสีเขียว มีลักษณะเป็นเหลี่ยม ลำต้นส่วนนี้ทำหน้าที่สังเคราะห์แสงได้แก่ หวายทะนอย (Psilotum)

Division Bryophyta

Division Bryophyta พืชที่ไม่มีระบบท่อลำเลียง เรียกโดยทั่วไปว่า ไบรโอไฟต์ (bryophyte) มีทั้งสิ้นประมาณ 16,000 ชนิด พืชในดิวิชันนี้มีขนาดเล็ก มีโครงสร้างง่าย ๆ ยังไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ชอบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศยังต้องอาศัยน้ำสำหรับให้สเปิร์มที่มีแฟลกเจลลา (flagella) ว่ายไปผสมกับไข่ ต้นที่พบเห็นโดยทั่วไปคือแกมีโทไฟต์ (มีแกมีโทไฟต์เด่น) รูปร่างลักษณะมีทั้งที่เป็นแผ่นหรือแทลลัส (thallus) และคล้ายลำต้นและใบของพืชชั้นสูง (leafy form) มีไรซอยด์ (rhizoid) สำหรับยึดต้นให้ติดกับดินและช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ ได้แก่ มอส ลิเวอร์เวิร์ต และฮอร์นเวิร์ด